อิฐบล็อคนาโน กับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการสร้างที่อยู่อาศัยแบบรักษ์โลก และสามารถรับมือภัยพิบัติด้วยอิฐบล็อคนาโน (Nano Block) จัดเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการก่อสร้างที่จะตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกในอนาคต
ด้วยระบบการก่อสร้างแบบผนังรับแรง ทำให้ถ่ายน้ำหนักตลอดความยาวผนัง แทนการถ่ายน้ำหนักที่ต้องวิ่งลงเสาฐานรากเป็นจุดๆ การถ่ายน้ำหนักตลอดแนวผนัง ทำให้น้ำหนักที่ถ่ายลงดินเหลือน้อยมาก ทำให้ไม่มีแรงเค้นที่ดินฐานราก ทำให้ไม่ต้องตอกเสาเข็มให้เสียเวลาและประหยัดงบประมาณและประหยัดเวลาในการก่อสร้าง การก่อสร้างใช้ปูนกาวก่อโดยการจุ่มแล้ววาง แทนการก่อด้วยปูนก่อ (Mortar) ทำให้ก่อผนังได้รวดเร็วกว่าเดิมมาก และแข็งแรงกว่ามาก
อิฐบล็อค นาโน ผลิตหล่อด้วยคอนกรีตแบบเปียก ทำให้มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมศาสตร์ได้ดีกว่าแบบแห้ง หรือ วัสดุอื่นๆ ทำให้นำมาสร้างเป็นผนังรับแรงได้ (Wall Bearing) ทำให้ลดเวลาและค่าใช้จ่ายการก่อสร้างและ สามารถเพิ่มความแข็งแรงโครงสร้างให้รับแรงได้ โดยการเสริมเหล็กและเทคอนกรีตลงในรูปกลวงอิฐบล็อค ก็จะได้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังราคาประหยัดกว่าระบบการก่อสร้างรูปแบบเดิมๆ บล็อคมีเดือยด้านบนและล่าง ทำให้ผนังสามารถรับแรงด้านข้างได้ดีกว่าผนังที่ก่อด้วยวัสดุอื่นๆ
ระบบการก่อสร้างแบบผนังรับแรงด้วยอิฐล็อคนาโน ทำให้การก่อสร้างลดลงได้ถึง 50 % อิฐมีเดือยด้านบนด้านล่าง และ ใช้ปูนกาว ทำให้ก่อผนังได้รวดเร็ว เจ้าของบ้านทำเองก็ได้ มีผิวผนังมีลายที่สวยงาม ทำให้ไม่จำเป็นต้องฉาบปูน หรือ ทาสีก็ได้ น้ำไม่รั่วซึม สามารถฝังท่อร้อยสายไฟฟ้า ระบบท่อประปาได้ ไม่เสียเวลาสกัดผนังแบบเดิม
อิฐบล็อค นาโน เป็นคอนกรีตรับแรงไม่มีเสาทำให้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย สวยงาม พื้นผิวเปลือย โดดเด่น สวยงามสไตล์ลอฟท์ และสามารถผสมสีลงในคอนกรีตได้กว่า 36 สี ทำให้ไม่ต้องฉาบปูน ไม่ต้องห่วงเรื่องสีลอก หรือเก่า ภายหลัง สามารถผสมหิน หรือ ทรายเรืองแสง หรือวัสดุอื่นๆตกแต่งแปลกตาได้อีกมายมาย
เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านได้เอง (เกือบทั้งหมด) ลดการจ้างแรงงานหรือช่างฝีมือลง ไม่ต้องเป็นหนี้มาก สามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น ทำให้เศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียนดีขึ้นกว่าซื้อวัสดุหรือแรงงานจากส่วนกลาง ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้มีส่วนในการลดปัญหาสังคมได้อีกทาง
สามารถเลือกใช้เศษวัสดุเหลือใช้ (Recycle) มาเป็นวัสดุผสม ทำให้ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ดี อากาศภายในบ้านเย็นสบาย ทำให้ลดใช้ไฟฟ้า ลดการขนส่งวัสดุระยะไกลๆ ลดการใช้น้ำมันรถยนต์ขนส่งลงได้มาก
ข้อมูลประกอบเนื้อหาอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยภิบัติ (NIDA Center for Research & Development of Disaster Prevention & Management)
Terms of Service © 2024 All rights reserved. นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล